แถลงข่าวการรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเพื่อเฉลี่ยทรัพย์กว่า 2,500 ล้านบาท คืนให้แก่ผู้เสียหายกว่า 1,500 คน ในคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
แถลงข่าวการรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเพื่อเฉลี่ยทรัพย์กว่า 2,500 ล้านบาท คืนให้แก่ผู้เสียหายกว่า 1,500 คน ในคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
แถลงข่าวการรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเพื่อเฉลี่ยทรัพย์กว่า 2,500 ล้านบาท
คืนให้แก่ผู้เสียหายกว่า 1,500 คน ในคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์
.
ตามนโยบาย นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายในการเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน โดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร., พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.จตช. ในฐานะ
ผอ.ศปอส.ตร. จึงได้สั่งการให้ พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ.ตร.รรท.ผบช.สอท. นำเจ้าหน้าที่ตำรวจ บช.สอท. สืบสวนจับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ และประสานการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินคดีให้ถึงที่สุด เพื่อสามารถติดตามทรัพย์สินที่หลอกลวงไปกลับมาเยียวยาความเดือดร้อนของผู้เสียหาย
.
วันที่ 17 ธ.ค.67 เวลา 10.00 น. ณ อาคารสัมมนาและฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
(เมืองทองธานี) โดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผบ.ตร. มอบหมายให้ พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. เป็นผู้แทน พร้อม พล.ต.ท.ธัชชัช ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วย ผบ.ตร.รรท.จตช./ผอ.ศปอส.ตร., พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ.ตร.รรท.ผบช.สอท. และผู้บังคับบัญชาระดับสูงของ บช.สอท. ร่วมกับ นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการ ปปง., นายวิทยา นีติธรรม โฆษกประจำ สำนักงาน ปปง., พ.ต.ท.จักร จุลกะรัตน์ ผอ.กองคดี 3 สำนักงาน ปปง. พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงข่าว “การรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเพื่อเฉลี่ยทรัพย์กว่า 2,500 ล้านบาท คืนให้แก่ผู้เสียหายกว่า 1,500 คน ในคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์”
.
สืบเนื่องจาก บช.สอท. ได้ดำเนินคดีอาญาที่ 80/2566 ในความรับผิดชอบของ บก.สอท.2 ผู้ต้องหารายนายสฤษฏ์ฯ กับพวก ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวกับการหลอกลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ มูลค่าความเสียหาย จำนวน 3,627,966 บาทในการกระทำความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน, โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วนหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน”
.
โดยคดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือน ก.ย.65 ได้มีผู้เสียหายรายหนึ่งโดนหลอกลวงในลักษณะ Hybrid Scam โดยผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพสุ่มติดต่อหาเหยื่อผ่านทางโซเชียลมีเดีย แล้วพูดคุยสร้างความสนิทสนม จากนั้นได้ชักชวนให้โอนเงินเพื่อลงทุนผ่านแอปพลิเคชัน “Streaming” สุดท้ายสูญเงินไปจำนวนกว่า 3 ล้านบาท จากการตรวจสอบเส้นทางการเงิน พบว่ายอดถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารของนายสฤษฎ์ กับพวกอีกหลายราย แล้วถูกโอนต่อเป็นทอดไปยังผู้รับผลประโยชน์ชาวจีนและบริษัทแห่งหนึ่งของจีน
.
ต่อมา บช.สอท. ได้ตรวจสอบกับฐานข้อมูลในระบบรับแจ้งความออนไลน์และพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง พบว่าคดีดังกล่าวกระทำเป็นลักษณะขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ มีความเกี่ยวพันกับคดีอื่นอีกจำนวน 1,351 คดี มูลค่าความเสียหายรวมกว่า 2,201 ล้านบาท
.
ภายหลังตำรวจไซเบอร์ได้สืบสวนติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่ร่วมขบวนการมาดำเนินคดีได้หลายราย และประสานข้อมูลไปยัง ปปง. โดยมีนางสาวทิพย์วรรณ วรรณโสภณ ผอ.ส่วนปฏิบัติการงานคดี 4, นายพิเชส คล่องสารา นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ, นางสาวกมลชนก สุขเส้ง นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ พร้อมทีมงานเป็นบุคลากรหลักในการสืบสวนเส้นทางการเงินร่วมกับ บช.สอท. จนได้พยานหลักฐานที่เชื่อมโยงไปถึงทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องในขบวนการดังกล่าวมูลค่ามหาศาล
.
ต่อมาคณะกรรมการธุรกรรม สำนักงาน ป.ป.ง. ได้มี คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรม ที่ ย.192/2567 ลง 18 ก.ย.67 เรื่อง ยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดชั่วคราว ในคดีอาญาราย นายสฤษฏ์ อดุลย์พิจิตร กับพวกผู้ต้องหา และคดีที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในลักษณะคนร้ายเป็นกลุ่มขบวนการเดียวกัน
จึงร่วมกัน ตรวจยึดและอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด ได้แก่ ฉโนดที่ดิน คอนโดหรู และเงินฝากในบัญชีธนาคาร รวมทั้งโครงการคฤหาสน์หรูริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนที่ดินประมาณ 30 ไร่ ติดถนนสนามบินน้ำ ที่คาดว่าจะมีราคาเริ่มต้นที่ 100 ล้านบาทจนถึงถึง 700 ล้านบาทต่อหลัง ที่เคยเป็นข่าวดังไปก่อนหน้านี้ รวมยึดและอายัดทรัพย์ทั้งสิ้น จำนวน 52 รายการ มูลค่า 2,561,188,503.70 บาท
.
จากนั้น ปปง. มีประกาศสำนักงาน ปปง. ลง ๒๔ ก.ย.๖๗ เรื่อง ให้ผู้เสียหายยื่นคำร้องเพื่อขอรับคืนหรือชดใช้คืนซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายในความผิดมูลฐาน
ในคดีอาญารายนายสฤษฏ์ อดุลย์พิจิตร กับพวกผู้ต้องหา และคดีที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในลักษณะคนร้าย
เป็นกลุ่มขบวนการเดียวกัน โดยกำหนดให้ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำความผิด
มูลฐานในรายคดีดังกล่าว ยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหายและจำนวนความเสียหายที่ได้รับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ปปง. ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา (ซึ่งจะครบกำหนด
ในวันที่ 25 ธ.ค.67)
.
ต่อมาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.67 เวลา 10.00 น. พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผบช.สพฐ.ตร.รรท.ผบช.สอท., พล.ต.ต.อรรถสิทธิ์ สุดสงวน รอง ผบช.สอท. ได้เข้าพบ นายเทพสุ บวรโชติดารา เลขาธิการ ป.ป.ง. และ นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย รองเลขาธิการ ป.ป.ง. ณ สำนักงาน ปปง. เพื่อหารือเรื่องดังกล่าว และได้เห็นชอบให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานป้องกันปราบปรามการฟอกเงิน จัดงานรับคำร้องขอคุ้มครองสิทธิเพื่อเฉลี่ยทรัพย์กว่า 2,500 ล้านบาท คืนให้แก่ผู้เสียหายกว่า 1,500 คน ในคดีหลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ โดยให้ผู้เสียหายที่มีสิทธิ์มายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์คืน ได้ตั้งแต่ วันที่ 17 - 20 ธ.ค.67 ณ อาคารประชุมสัมมนาและฝึกอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เมืองทองธานี) ต.บ้านใหม่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
.
#ตำรวจไซเบอร์ #สอท #ปปง #เฉลี่ยทรัพย์
#ตำรวจไซเบอร์ #CCIB