ตำรวจไซเบอร์รวบแก๊งอ้างตัวเป็น จนท.สรรพากร หลอกเปิดบัญชี “เป๋าตุง” ปลอม สูญเงินกว่า 2.9 ล้านบาท

ตำรวจไซเบอร์รวบแก๊งอ้างตัวเป็น จนท.สรรพากร

หลอกเปิดบัญชี “เป๋าตุง” ปลอม สูญเงินกว่า 2.9 ล้านบาท

.

ตามนโยบาย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญกับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีทุกรูปแบบ กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดย พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 เร่งรัดปราบปรามจับกุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ดังกล่าว เพื่อลดความเดือดร้อนให้กับประชาขนจากการสูญเสียทรัพย์สินและตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์ โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

.

สืบเนื่องจากคดีนี้ ผู้เสียหายได้แจ้งกับพนักงานสอบสวน มีโทรศัพท์โทรมาแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่สรรพากร และให้เปิดบัญชี “เป๋าตุง” เพื่อไม่ต้องมีการเสียภาษี โดยให้กรอกข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ต จากนั้นเงินในบัญชีก็ถูกโอนออกไปจากบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย จำนวน 2,900,000 บาท จึงได้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน บก.สอท.3

.

พล.ต.ต.สถิตย์ พรมอุทัย ผบก.สอท.3 ผบช.สอท. สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ บก.สอท.3 นำโดย พ.ต.อ.อดิชาต อมรประดิษฐ ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ บก.สอท.3 ดำเนินการสืบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขออนุมัติหมายจับและเร่งรัดจับกุมผู้ต้องหามาดำเนินคดี

.

ต่อมาวันที่ 7 มีนาคม 2567 พ.ต.ท.ธนัช ธนาบุญประกอบ รอง ผกก.วิเคราะห์ข่าวฯ และ พ.ต.ต.เอกสิทธิ์

พระศรี สว.กก.วิเคราะห์ข่าวฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.วิเคราะห์ข่าวฯ ได้สืบสวนทราบว่า หนึ่งในขบวนการดังกล่าวคือ นางประทุมรัตน์ อายุ 50 ปี ชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร จึงได้วางแผนจับกุม

.

ขณะเจ้าหน้าที่ตำรวจเฝ้าสังเกตการณ์ พบนางประทุมรัตน์ อยู่บริเวณหน้าห้องเช่าแห่งหนึ่ง ในซอยเพชรเกษม 48 ถนนเพชรเกษม แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีตำหนิรูปพรรณตรงกับบุคคลตามหมายจับ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้แสดงตัวเข้าจับกุมในความผิดฐาน “ร่วมกันลักทรัพย์โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่สองคนขึ้นไป ,ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน" นำส่งพนักงานสอบสวน กก.3 บก.สอท.3 เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

.

และนอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่า มีความเชื่อมโยงกับเคสไอดีอื่น และมีหมายจับเพิ่มเติมอีก 1 หมาย คือ หมายจับของศาลอาญา ที่ 3236 /2566 ลงวันที่ 22 กันยายน 2566 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน“ร่วมกันลักทรัพย์,ร่วมกันเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน และร่วมกันทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่น” ซึ่งจะได้ประสานพนักงานสอบสวน กก.1 บก.สอท.1 ทำการอายัดตัวต่อไป

.

#ตํารวจไซเบอร์ #สอท #จับกุม #แอปดูดเงิน

#ตำรวจไซเบอร์  #CCIB