ตร.ไซเบอร์รวบขบวนการลงทุนทิพย์ผ่านเฟซบุ๊ก อ้างบริษัทยักษ์ใหญ่ สูญเงินกว่า 1.5 ล้านบาท

ตร.ไซเบอร์รวบขบวนการลงทุนทิพย์ผ่านเฟซบุ๊ก

อ้างบริษัทยักษ์ใหญ่ สูญเงินกว่า 1.5 ล้านบาท

.

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ได้สั่งการให้กวาดล้างอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

.

สืบเนื่องจากมีกลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงผู้เสียหายแอบอ้างใช้ชื่อบริษัทผู้ให้บริการด้านน้ำมันและพลังงาน เชิญชวนให้ร่วมลงทุนซื้อหุ้น ผ่านช่องทาง Social Media เช่น กลุ่มไลน์, กลุ่มไลน์โอเพนแชต และเฟซบุ๊ก

โดยอ้างแผนการลงทุน มีทั้งแบบระยะสั้น และระยะยาว เริ่มต้นที่ 1,000 บาท ปันผลตอบแทน 1-3 เปอร์เซ็นต์/สัปดาห์ ผู้เสียหายเกิดความสนใจจึงได้ลองสมัครและโอนเงินไปครั้งแรก 10,000 บาท ได้กำไร 3,100 บาท ปรากฏว่าได้ผลตอบแทนจริง จึงหลงเชื่อทำการลงทุนต่อไปเรื่อยๆ อีกหลายครั้ง จนกระทั่งมียอดกำไรในระบบ 3,473,574 บาท เมื่อแจ้งถอนเงินออกจากระบบ ปรากฏว่าไม่สามารถถอนได้ โดยมิจฉาชีพอ้างว่าจะต้องจ่ายค่าส่วนต่าง ผู้เสียหายเกรงจะไม่ได้เงินยอดก่อนหน้านี้คืนจึงได้โอนไปให้ แต่ก็ยังไม่ได้และถูกหลอกให้โอนเงินอีกหลายครั้ง โดยผู้เสียหายได้โอนเงินไปทั้งสิ้น 8 ครั้ง สูญเงินกว่า 1,560,642.46 บาท

และจากการตรวจสอบ ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์ มีความเชื่อมโยงจำนวน 6 เคสไอดี 

.

กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.3 บก.สอท.2 ได้สืบสวนติดตาม น.ส.สวรรยา อายุ 19 ปี ชาวจังหวัดสระแก้ว ผู้ต้องหา พบว่าหลบหนีมาพักอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ  จึงได้ลงพื้นที่ตรวจสอบพบ น.ส.สวรรยาฯ บริเวณหน้าบ้านหลังหนึ่ง ในตำบลบางกระเจ้า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จึงได้แสดงหมายจับให้ผู้ต้องหาทราบ ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น,โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่ความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา,เปิดหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้บัญชีเงินฝาก บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือบัญชีเงินอิเล็กทรอนิกส์ของตน โดยมิได้มีเจตนาใช้เพื่อตนหรือเพื่อกิจการที่ตนเกี่ยวข้องหรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้หรือยืมใช้หมายเลขโทรศัพท์สำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของคน ทั้งนี้ โดยประการที่รู้หรือควรรู้ว่าจะนำไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือความผิดอาญาอื่นใด”

.

เบื้องต้นผู้ต้องหาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา ว่าตนไม่ได้ร่วมฉ้อโกงผู้เสียหาย แต่รับว่ารับจ้างเปิดบัญชีขายให้ “กลุ่มหางานออนไลน์” โดยการลงทะเบียนเปิดบัญชีออนไลน์ ด้วยการยืนยันตัวตนรูปแบบดิจิทัล (National Digital ID - NDID) และส่งข้อมูลส่วนตัว เช่น รูปถ่ายบัตรประชาชน,เบอร์โทรและอีเมล์ ให้คนรับซื้อบัญชีไป ซึ่งได้รับค่าจ้างเปิดบัญชี 300 บาท โดยไม่ทราบว่านำไปใช้เกี่ยวกับเรื่องใด หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำบันทึกจับกุม และนำตัวส่งพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

.

ผลการปฏิบัติภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.ณัฐกร ประภายนต์ ผบก.สอท.2,

พ.ต.อ.ปกรณ์กิตติ์ ธนวรินทร์กุล ผกก.3 บก.สอท.2 ,พ.ต.ท.เอนก ยอดหมวก รอง ผกก.3 บก.สอท.2 ได้สั่งการให้ชุดปฏิบัติการที่ 3 นําโดย พ.ต.ท.ศราวุธ ตะดวงดี สว.กก.3 บก.สอท.2  พร้อมชุดสืบสวนดำเนินการจับกุม

.

#ตำรวจไซเบอร์ #สอท #จับกุม #หลอกลงทุน #หลอกซื้อหุ้น


#ตำรวจไซเบอร์  #CCIB